การกลั่นแบบแยกลำดับส่วน
โมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบจะมีขนาดที่หลากหลายกันออกไป ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นกลุ่มที่มีขนาดโมเลกุลเท่ากันที่เรียกว่า การกลั่นแบบแยกลำดับส่วน
กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่ได้จะถูก แยกตามลำดับส่วนโดยในแต่ละส่วนจะถูกนำไปใช้เป็น เชื้อเพลิง
เมื่อไฮโดรคาร์บอนถูกเผาจะได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมาสู่บรรยากาศ
CH4 |
+ |
2O2 |
—› |
CO2 |
+ |
2H2O |
มีเทน |
+ |
ออกซิเจน |
—› |
คาร์บอนไดออกไซด์
|
+ |
น้ำ |
เชื้อเพลิงส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกำมะถัน ซึ่งเมื่อถูกเผาจะให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
S |
+ |
O2 |
—› |
SO2 |
|
ซัลเฟอร์
|
+ |
ออกซิเจน |
—› |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
|
|
คาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นตัวเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก และส่งผลให้เกิด ภาวะโลกร้อน
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะเป็นสาเหตุของ ฝนกรด
กระบวนการกลั่นตามลำดับส่วน จะมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้น้ำมันมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหอกลั่น จนกระทั่งระเหยเป็นไอ
สารประกอบซึ่งมีส่วนประกอบของสายโซ่คาร์บอนขนาดเล็ก ซึ่งระเหยง่ายและจะถูกต้ม เนื่องจากมีจุดเดือดค่อนข้างต่ำและเมื่อลอยเข้าไปจนถึงส่วนยอดของหอกลั่น จะถูกเก็บรวบรวม ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ติดไฟและลุกไหม้ได้ง่าย
สารประกอบที่มีโซ่คาร์บอนที่ยาวกว่า จะมีจุดเดือดที่สูงกว่า และจะถูกเก็บรวบรวมที่ส่วนล่างของหอแยกกลั่น โดยจะมีลักษณะเหนียวคล้ายยาง และจะติดไฟยากกว่า
|